แบตเตอรี่
แบตเตอรี่ชนิด ประจุไฟฟ้าใหม่ได้ และชนิดใช้แล้วทิ้ง
แบตเตอรี่ใช้แล้วทิ้งเรียกอีกอย่างว่า เซลล์ปฐมภูมิ ใช้ได้ครั้งเดียว เนื่องจากไฟฟ้าที่ได้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีเมื่อสารเคมีเปลี่ยนแปลงหมดไฟฟ้าก็จะหมดจากแบตเตอรี่ แบตเตอรี่เหล่านี้เหมาะสำหรับใช้ในอุปกรณ์ขนาดเล็ก และสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก ใช้ไฟน้อยหรือในที่ที่ห่างไกลจากพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ
ในทางตรงกันข้ามแบตเตอรี่ชนิดประจุไฟฟ้าใหม่ได้หรือ เซลล์ทุติยภูมิ สามารถประจุไฟฟ้าใหม่ได้หลังจากไฟหมดเนื่องจากสารเคมีที่ใช้ทำแบตเตอรี่ชนิดนี้สามารถทำให้กลับไปอยู่ในสภาพเดิมได้โดยการประจุไฟฟ้าเข้าไปใหม่ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้อัดไฟนี้เรียกว่า ชาร์เจอร์ หรือ รีชาร์เจอร์แบตเตอรี่ชนิดประจุไฟฟ้าใหม่ได้ที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งใช้อยู่จนกระทั่งปัจจุบันคือ "เซลล์เปียก" หรือแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด (lead-acid battery) แบตเตอรี่ชนิดนี้จะบรรจุในภาชนะที่ไม่ได้ปิดผนึก (unsealed container) ซึ่งแบตเตอรี่จะต้องอยู่ในตำแหน่งตั้งตลอดเวลา และต้องเป็นพื้นที่ที่ระบายอากาศได้เป็นอย่างดี เพื่อระบายก๊าซ ไฮโดรเจน ที่เกิดจากปฏิกิริยา และแบตเตอรี่ชนิดจะมีน้ำหนักมาก
รูปแบบสามัญของแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด คือ แบตเตอรี่รถยนต์ ซึ่งสามารถจะให้พลังงานไฟฟ้าได้ถึงประมาณ 10,000 วัตต์ในช่วงเวลาสั้นๆ และมีกระแสตั้งแต่ 450 ถึง 1,100 แอมแปร์ สารละลายอิเล็กโตรไลต์ของแบตเตอรี่คือ กรดซัลฟิวริก ซึ่งสามารถเป็นอันตรายต่อผิวหนัง และตาได้ แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด ที่มีราคาแพงมากเรียกว่า แบตเตอรี่เจล (หรือ "เจลเซลล์") ภายในจะบรรจุอิเล็กโตรไลต์ประเภทเซมิ-โซลิด (semi-solid electrolyte) ที่ป้องกันการหกได้ดี และแบตเตอรี่ชนิดอัดไฟใหม่ได้ที่เคลื่อนย้ายได้สะดวกกว่าคือประเภท "เซลล์แห้ง" ที่นิยมใช้กันในโทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก
แบตเตอรี่สตาร์ทรถยนต์
ส่วนใหญ่ของแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรดในโลกจะใช้เพื่อสตาร์ท, แสงสว่าง และการจุดระเบิด (SLI) ของรถยนต์
แบตเตอรี่ตะกั่วกรดที่ออกแบบมาสำหรับการสตาร์ทเครื่องยนต์ของรถยนต์ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับการดีสชาร์จที่ลึก. พวกมันมีแผ่นบางจำนวนมากที่ออกแบบมาสำหรับให้พื้นที่ผิวสูงสุด ดังนั้นจึงมีกระแสส่งออกสูงสุด, แต่ก็สามารถได้รับความเสียหายจากการดีสชาร์จที่ลึก. การดีสชาร์จที่ลึกบ่อยๆ ครั้งจะทำให้สูญเสียกำลังความสามารถและในท้ายที่สุดก็ล้มเหลวก่อนวัยอันควร, เพราะขั้วไฟฟ้าทั้งสองจะละลายเนื่องจากความเครียดทางกลที่เกิดขึ้นจากการชาร์จ-ดีสชาร์จหลายครั้ง. แบตเตอรี่เพื่อการสตาร์ทที่ถูกชาร์จลอยอย่างต่อเนื่องจะมีการกัดกร่อนที่ขั้วไฟฟ้าทั้งสองซึ่งจะส่งผลให้เกิดความล้มเหลวก่อนวัยอันควร. เมื่อไม่ใช้งาน, แบตเตอรี่เพื่อการสตาร์ทควรถูกปล่อยให้มันเปิดวงจรไว้แต่มีการชาร์จเป็นประจำ (อย่างน้อยหนึ่งครั้งทุกสองสัปดาห์) เพื่อป้องกันการ sulfation.
การเกิดซัลเฟชั่น (Sulfation) หรือการเกิดเกลือซัลเฟตในแบตเตอรี่
การเสื่อมสภาพของแบตเตอรี่ส่วนมาก มีสาเหตุมาจากการเกิดซัลเฟชั่น Sulfation
เมื่อใช้งานแบตเตอรี่ไปได้ระยะหนึ่งปริมาณตะกั่วซัลเฟตจะสะสมที่แผ่นธาตุมากขึ้นซึ่งตะกั่วซัลเฟตนี้มีลักษณะที่เป็นฉนวน จะเกิดสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ และเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “Sulfation” กล่าวคือตะกั่วซัลเฟตบนแผ่นธาตุจะรวมตัวกันเป็นผลึกที่มีขนาดใหญ่
โดยทั่วไปจะเรียกผลึกของตะกั่วซัลเฟตนี้ว่า “Hard sulfate” ซึ่ง Hard sulfate นี้อาจจะไม่สามารถเปลี่ยนกลับไปเป็นตะกั่ว และกรดซัลฟูริกได้อีกทำให้แบตเตอรี่มีความจุ (แอมแปร์-ชั่วโมง) ลดลง และจ่ายกระแสได้ปริมาณ (แอมแปร์) ลดลง
ความจุของแบตเตอรี่จะลดลงหลังการใช้งานระยะหนึ่งและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะที่ไม่สามารถประจุไฟได้เต็ม 100% ตลอดเวลาเช่นการใช้รถยนต์ในเมือง, ตอนกลางคืน, ช่วงเวลาฝนตก และการติดตั้งอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าเพิ่มเติมต่างๆ เช่นเครื่องเสียง, เครื่องเล่น DVD ฯลฯ ซึ่งเป็นกระบวนการคายประจุไฟฟ้าจะยิ่งทำให้มีการเกิดผลึกตะกั่วซัลเฟตขนาดใหญ่มากขึ้นความจุของแบตเตอรี่จะลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อความจุของแบตเตอรี่ลดลงทำให้เกิดปัญหาต่อเนื่องอื่นๆตามมามากมาย และเมื่อไม่สามารถเก็บพลังงาน และจ่ายกระแสไฟฟ้าได้เต็มประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ทำให้ ระบบประจุไฟฟ้า ต้องทำงานหนักขึ้น(หมายถึง ไดชาร์จ) ซึ่งสำหรับรถยนต์ก็คือการเปลี่ยนน้ำมันเป็นพลังงานไฟฟ้าอาจเป็นต้นเหตุหนึ่งของการ สิ้นเปลืองน้ำมัน โดยเปล่าประโยชน์